มหากาพย์การอพยพ

นกนับพันล้านตัวอพยพกันทุกปี ข้ามมหาสมุทร ทะเลทลาย เทือกเขา กระทั่งข้ามซีกโลกเพื่อเสาะหาภูมิอากาศและอาหารที่ดีกว่า จากเส้นทางการเดินทางของนก ราวครึ่งหนึ่งของชนิดพันธ์ทั้งหมดที่อพยพ ใช้เวลาเดินทางนานเป็นเดือนๆ รวมเวลาพักและเติมพลังงาน และการปรับตัวทางกายภาพเท่านั้นที่ทำให้การเดินทางอันท้าทายของนกเหล่านี้เป็นไปได

ธรรมชาตินำทางนกอพยพ
การเดินทางอย่างยาวนานของนกอพยพต้องอาศัยแหล่งพลังงานสะสมและความสามารถด้านการนำทางอย่างล้ำเลิศ ความสามารถนี้ มันถูกฝังอยู่ในตัวนกอพยพ ด้วยการถูกกระตุ้นโดยการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล อุณหภูมิ และอาหารที่มี ล้วนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากในการทำให้นกนั้นอพยพ จากการวิจัยนกอพยพใช้เบาะแสหลายอย่างในการนำทาง ได้แก่

1. ดวงอาทิตย์ และดวงดาว : นกนั้นจะมองดวงอาทิตย์และดวงดาวเพื่อนำพาตนเองไปในทิศทางที่ถูกต้อง และใช้กำหนดเวลาการอพยพประจำปี เมื่อช่วงเวลากลางวันหดสั้นลงเรื่อยๆนั้นหมายถึงเวลาที่ต้องอพยพใกล้มาถึงแล้วนั่นเอง

2. จุดเด่นบนภูมิประเทศ : นกที่อพยพในช่วงกลางวันสามารถใช้จุดเด่นบนภูมิประเทศ เช่น เทือกเขา แม่น้ำ และแนวชายฝั่งในการนำทาง นกมักยึดเส้นทางที่คุ้นเคยในการกลับไปยังแหล่งเดิมปีแล้วปีเล่า

3. นำทางด้วยสนามแม่เหล็กโลก : นกบางชนิดมีตัวตรวจจับในดวงตาที่ช่วยตรวจจับสนามแม่เหล็ก และมีแร่แมกนีไทต์ซึ่งเป็นแร่ที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กซึ่งอยู่ในจะงอยปาก เพื่อช่วยบอกทิศทางในการบิน
ความสามารถในการนำทางนี้ทำให้พวกนกอพยพระยะไกลสุดขั้วสามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรและทวีปเพื่อไปยังแหล่งทำรังและแหล่งอาหารตามฤดูกาลได้นั่นเอง

อุปสรรคที่ในการอพยพ
นกอพยพเผชิญอันตรายนานัปการ แต่ภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดคือมนุษย์ การชนเข้ากับโครงสร้างต่างๆ กังหันลม ฯลฯ โดยเฉพาะสถานที่ที่เปิดไปสว่างยามค่ำคืน แสงไฟของเมืองทำให้นกที่อพยพช่วงกลางคืนสับสน จึงสามารถฆ่านกเป็นล้านๆตัวในแต่ละปี เพราะมันส่งผลกระทบต่อการกำหนดเวลาเดินทางทำให้ ความสำเร็จในการอพยพลดลงมาก

อ้างอิงจาก นิตยสาร National Geographic ฉบับ มีนาคม 2561