Invisible Connections | A concert for World Migratory Bird Day

(ภาษาไทย ด้านล่าง)

In celebration of World Migratory Bird Day, May 9th 2020, join musicians Simone Slattery (violin) and Anthony Albrecht (cello) for a concert experience like no other: a musical and visual journey from the continental shores and archipelagos of Australasia to the tundra of Siberia and Alaska, tracing the awe-inspiring odyssey of shorebirds as they draw Invisible Connections across the globe.

‘Invisible to the naked eye, above the land and oceans of the world, lie some of the planet’s busiest highways…

…Twice a year, these connecting corridors of activity hum to the endless beats of millions of wings as birds commute between their seasonal homes…

…As they fly and land, and then lift into the clouds again, the flocks weave unseen threads that bind them to the world and its myriad inhabitants in diverse and unexpected ways…beyond our sight…beyond our imaginations…’

Just as migratory birds connect our world, weaving Invisible Connections for thousands of years, so too does music – the universal language that knows no borders.

This 15-minute online performance event, facilitated by the EAAFP and hosted by the Bird Conservation Society of Thailand, is a preview of the Bowerbird Collective’s complete live, multimedia performance piece, based on the story of the East Asian-Australasian Flyway. This is a work in development, with plans for extensive international touring from 2021 onward.

Title and quotations used with generous permission from Invisible Connections – Why Migratory Shorebirds Need the Yellow Sea by Jan van de Kam and colleagues, published by CSIRO Publishing, 2010. Special thanks to Ayuwat Jearwattanakanok and Vivian Fu.

 

Invisible Connections
May 9, 2020 – 5pm Bangkok Time, 8pm Sydney time
15-minute online concert
Youtube Link: https://www.youtube.com/watch?v=VDotxnJ7bBI

 


สายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็น

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง “วันนกอพยพโลก (World Migratory Bird Day)” ที่จะมีขึ้นในวันที่ 9 พฤษภาคม 2563 นี้ ศิลปินชาวออสเตรเลีย Simone Slattery (ไวโอลิน) และ Anthony Albrecht (เชลโล่) ได้จัดคอนเสิร์ทเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของนกอพยพ ผ่านเสียงดนตรีและภาพถ่ายที่บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางของนกชายเลนจากชายฝั่งของออสเตรเลียไปจนถึงทุ่งทุนดราในไซบีเรีย และอะแลสกา เป็นการผจญภัยที่เชื่อมสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นระหว่างหลายประเทศทั่วโลก

‘เส้นทางที่การจราจรคับคั่งที่สุด แต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สูงเหนือผืนแผ่นดินและมหาสมุทร…

…เส้นทางสายนี้คราคร่ำไปด้วยเสียงกระพือปีกของนกนับล้านตัวที่บินสัญจรไปมาระหว่างบ้านสองหลังเป็นประจำถึงปีละสองครั้ง…

…ทุกครั้งที่นกเหล่านี้บินขึ้นจากผืนดิน และโผทะยานสู่ท้องฟ้า พวกมันได้ถักทอสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงสิ่งมีชีวิตนับไม่ถ้วนบนโลกของเราเข้าด้วยกันในวิถีทางที่เหนือความคาดหมาย เหนือจินตนาการของเรา…’

เช่นเดียวกับนกอพยพที่เชื่อมโลกของเราเข้าด้วยกัน สานสร้างสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นเป็นเวลานับพันพันปี ดนตรีก็เป็นภาษาสากลที่ไม่รู้จักเขตแดน

คอนเสิร์ทชุดนี้ซึ่งมีความยาวประมาณ 15 นาที ได้รับการสนับสนุนโดย EAAFP และเผยแพร่โดย สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย เป็นบางส่วนของผลงานโดย Bowerbird Collective ที่จะนำเสนอเรื่องราวของนกอพยพในเส้นทางบินอพยพเอเชียตะวันออก-ออสเตรเลีย ซึ่งวางแผนจะจัดแสดงภายในปี 2021

ชื่อคอนเสิร์ทและเนื้อความบางส่วนได้รับการอนุญาตให้ใช้จากหนังสือ Invisible Connections – Why Migratory Shorebirds Need the Yellow Sea โดย Jan van de Kam ตีพิมพ์โดย CSIRO Publishing ปี 2010 และขอขอบคุณคุณอายุวัต เจียรวัฒนกนก และคุณ Vivian Fu ผู้ประสานงาน

 


 

คำบรรยาย / Narration

At the margins of the sea, in a world of murky tides and mudflats, shorebirds begin to gather, feeding and fueling for the journey ahead.

ณ ชายขอบของมหาสมุทร โลกซึ่งปกคลุมไปด้วยโคลนเลน บรรดานกชายเลนออกหาอาหารเพื่อสะสมพลังงานสำหรับการเดินทางที่รออยู่

———————————————————————————

These birds live on land’s edge, periphery of our consciousness.

นกเหล่านี้อาศัยอยู่บนชายขอบของผืนดิน ชายขอบของการรับรู้ของพวกเรา

———————————————————————————

Yet as they fly and land, and then lift into the clouds again, the flocks weave unseen threads that bind them to the world and its myriad inhabitants in diverse and unexpected ways…

แต่พวกมันบินขึ้นลงระหว่างท้องฟ้ากับผืนดิน ถักทอเป็นสายใยที่มองไม่เห็น เชื่อมโยงโลกและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เข้าด้วยกันในหลายหนทางที่เราคาดไม่ถึง

———————————————————————————

This is the story of one of the world’s greatest migrations.

นี่คือเรื่องราวของหนึ่งในการอพยพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

———————————————————————————

What is it that pulls us to the farthest corners of the globe? This compulsion to travel, to push the limits of physical endurance…

อะไรคือแรงดึงดูดที่ทำให้เราเดินทางไปยังจุดที่ไกลที่สุดบนโลก? อาจเป็นแรงผลักดันที่จะเดินทางเพื่อเพิ่มขีดจำกัดทางกายภาพ

———————————————————————————

Migration is a story as old as time itself – the search for safer ground, for the richest food sources, for reprise from the harshness of the elements, the search for home.

การอพยพเป็นเรื่องราวที่เก่าแก่ เป็นเรื่องราวของการตามหาถิ่นอาศัยที่ปลอดภัย และอุดมไปด้วยแหล่งอาหาร ผ่านการฟันฝ่าความยากลำบาก เพื่อตามหาบ้านหลังใหม่

———————————————————————————

The East Asian-Australasian Flyway is one of eight migration corridors used by shorebirds around the world, reaching from the continental shores and archipelagos of Australasia to the tundra of Siberia and Alaska, crossing 22 countries.

เส้นทางบินอพยพเอเชียตะวันออก-ออสเตรเลีย เป็น 1 ใน 8 เส้นทางบินอพยพทั่วโลกที่นกชายเลนใช้ เชื่อมโยงตั้งแต่หมู่เกาะของทวีปออสเตรเลีย ไปจนถึงทุ่งทุนดราของไซบีเรียและอะแลสกา ครอบคลุมกว่า 22 ประเทศทั่วโลก

———————————————————————————

Millions of birds use this migratory path, guided by magnetic fields, the wind, the sun and the stars, compelled to follow the flight of their forebears in a journey that is as much a part of their DNA as each bird’s unique call.

นกนับล้านตัวใช้เส้นทางบินอพยพสายนี้ โดยอาศัยการนำทางผ่านสนามแม่เหล็ก ลม ดวงอาทิตย์ และดวงดาว ตามรอยของบรรพบุรุษบนการเดินทางที่ฝังลึกอยู่ใน DNA ไม่ต่างจากเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ของนกแต่ละชนิด

———————————————————————————

The world of empty flats and muddy tides may at first glance resist intimacy and appreciation…however under a golden sun, the dull, weary surface of the mudflats can be transformed into a sparkling plain of diamonds.

โลกที่เวิ้งว้างและว่างเปล่าของหาดเลน อาจไม่เป็นที่น่าพิศมัยเมื่อครั้งแรกพบ แต่ภายใต้ดวงอาทิตย์ที่ร้อนระอุและโคลนเลนที่หมองหม่น นั้นอุดมไปด้วยทรัพยากรที่มีค่าราวอัญมณี

———————————————————————————

This sleepy Spoon-billed sandpiper is one of less than 200 remaining birds of this species…

นกชายเลนปากช้อนขี้เซาตัวนี้เป็นหนึ่งในไม่เกิน 200 ตัวที่เหลืออยู่บนโลก

———————————————————————————

Curlews and godwits, knots and plovers, stints and sandpipers, these birds have been a constant coming and going for many cultures around the world.

นกอีก๋อย นกปากแอ่น นกน็อท นกหัวโต นกสติ๊นท์ และนกชายเลนอีกนานับชนิด บินอพยพมาและจากไปนับครั้งไม่ถ้วนบนผืนดินของหลายประเทศทั่วโลก

———————————————————————————

Their globe-spanning flights link countries separated by thousands of kilometres, as well as those separated by ideology, language and culture.

การบินอพยพของพวกมันเชื่อมโยงประเทศต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ผ่านระยะทางหลายพันกิโลเมตร โดยไม่สนความแตกต่างทางภาษาหรือวัฒนธรรม

———————————————————————————

Undaunted by the borders drawn on our two-dimensional maps, these feathered travellers remind us that we are connected in ways more profound and substantive than those set forth in the carefully crafted phrases of treaty and trade.

นกเหล่านี้ไม่สนใจเขตแดนของประเทศที่ระบุอยู่บนแผนที่ การเดินทางของพวกมันช่วยตอกย้ำว่าแท้จริงแล้วมนุษย์เราต่างเชื่อมโยงกันในระดับที่ลึกซึ้งและสามัญไปกว่าสนธิสัญญาหรือความสัมพันธ์ทางการค้าใดๆ

———————————————————————————

They represent the passing of time and the change of the season…

การอพยพของนกชายเลนสะท้อนถึงวันเวลาที่ผ่านไป การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล…

———————————————————————————

And in their delicate hollow bones, built for flight, they embody the very essence of the fight for life.

กระดูกที่กลวงเบาของพวกมันถูกวิวัฒนาการขึ้นเพื่อการบิน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้พวกมันต่อสู้เพื่อการอยู่รอดในธรรมชาติ

———————————————————————————

Now we must fight for their lives, as human encroachment decimates the very habitat and food sources that provide the fabric of their migratory existence.

แต่ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะต้องต่อสู้เพื่อการอยู่รอดของเหล่านกชายเลน เมื่อถิ่นอาศัยและแหล่งอาหารของพวกมันถูกรุกล้ำและทำลายมากขึ้นไปทุกทีโดยฝีมือของมนุษย์

———————————————————————————

They belong to all of us, and none of us.

We must not lose their story.

นกชายเลนไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เชื่อมโยงกับพวกเราทุกคน

เราต้องไม่ทำให้เรื่องราวของพวกมันสูญหายไป